top of page

ชาในดินแดนแห่งสยามประเทศ

อัปเดตเมื่อ 27 ส.ค. 2564


ชาที่ปรากฏหลักฐานในประเทศไทย มี 2 แบบ คือ

1.ชาที่ปรุงด้วยวิธีชงชา ได้แก่ 1.1 ใบชาที่ผลิตในไทย มีทั้งชาที่ทำจากต้นเมี่ยง (ชาพันธุ์อัสสัม) ที่ขึ้นตามธรรมชาติ และชาที่ทำจากชาพันธุ์จีน โดยมากจะเป็นสายพันธุ์ชาลูกผสมของไต้หวัน และทำตามอย่างเทคนิคการผลิตของไต้หวัน 2.2 ใบชาจากจีน ดังปรากฏหลักฐานในบันทึกของลา ลูแบร์ ซึ่งบอกกับเราว่าคนแถบนี้กินน้ำชามาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์แล้ว แต่วิธีดื่มชาก็ไม่เหมือนกับยุคนี้ซะทีเดียว เพราะคนสมัยนั้นจะอมน้ำตาลกรวดใส่ปากก่อน แล้วจิบน้ำชาร้อนๆ ตาม ระหว่างนั้นเจ้าบ้านก็จะรินน้ำชาใส่ถ้วยให้เรื่อยๆ ถ้าแขกดื่มพอแล้วก็ให้คว่ำถ้วยชาลงเป็นการส่งสัญญาณว่าน้ำตาลในปากละลายหมดเกลี้ยง แต่น้ำชาร้อนก็ไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันทุกบ้านทุกครัวเรือน เพราะคนไทยชอบกินน้ำเย็นดับร้อนอย่างน้ำฝนมากกว่า น้ำชาร้อนจึงจัดเสิร์ฟเฉพาะในจวนข้าราชการหรือถวายพระเท่านั้น



2.ชาเย็น (ชาวต่างชาติเรียก Thai tea) สันนิษฐานว่าไทยเริ่มมีชาเย็นดื่มกันหลังจากชาตรามือเริ่มได้รับความนิยมราว ๆ ปี 2488 ชาเย็นมี 2 แบบดังนี้ 2.1 ชาเย็น ปรุงด้วยการต้มใบชา กรอง แล้วจึงปรุงรสด้วยน้ำแข็ง น้ำตาล นมข้นหวาน 2.2 ชาชัก ปรุงด้วยวิธีเหมือนชาเย็นแต่มีการสลับภาชนะใส่ชา กลับไปมาให้อากาศเข้าไปในเนื้อน้ำชาเย็น จนได้ฟองนมออกมา นิยมกันบริเวณภาคใต้ของประเทศ

น้ำกระสายยาคืออะไรในการแพทย์แผนไทย

โปรดติดตามตอนต่อไป ...

Photo by Klara Avsenik on Unsplash



Photo by TARUN RANA on Unsplash #Horacha #HorachaThailand #Teaherb #Herb #Thailand

ดู 58 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page